ข้อมูลเผยแพร่ ตัวอย่างที่ 2 ปี 2562

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 1/2562 ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสที่ 4/2561 ปัจจัยหลัก
มาจากการบริโภคภาคครัวเรือนและภาครัฐบาลยังคงขยายตัว ขณะที่การลงทุนรวมชะลอตัว ส่วนภาคต่างประเทศหดตัว ผลจากเศรษฐกิจ
และการค้าโลกชะลอตัว ด้านการผลิต ภาคการเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.9 ดีขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ภาคนอก
เกษตรขยายตัวร้อยละ 3.0 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการชะลอตัวของทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ
โดยภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.9 จากการขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยสาขาการท าเหมืองแร่ฯ ลดลงร้อยละ 0.9 สาขาการผลิตสินค้า
อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.6 สาขาไฟฟ้าฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 5.0 ในไตรมาสที่ 4/2561 และ
สาขาการประปาฯ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ภาคบริการขยายตัวร้อยละ 4.1
ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า จากการขยายตัวของสาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และสาขา
กิจกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค
ขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 4.6 และร้อยละ 3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 3.2 จากการขยายตัวของ
ภาคเอกชนร้อยละ 4.4 ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 0.1 ขณะที่การส่งออกและน าเข้าสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 4.9 และ
ร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.7 และร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย
ในไตรมาสที่ 1/2562 ขยายตัวร้อยละ 1.0 (QoQ SA)

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง


รายละเอียดตามรายงานการประชุม คกก. สศช.

โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง

โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต

  • ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย
  • ระยะทางรวมทั้งหมด 26.3 กิโลเมตร
  • ก่อสร้างเป็นทางยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ไปถึงสถานีดอนเมือง แล้วลดระดับลงมาเป็นระดับพื้นดินเมื่อพ้นจากสถานีดอนเมือง ไปจนถึงสถานีรังสิต
  • ประกอบไปด้วย 10 สถานีคือ 1. สถานีกลางบางซื่อ 2. สถานีจตุจักร 3. สถานีวัดเสมียนนารี 4. สถานีบางเขน 5. สถานีทุ่งสองห้อง 6. สถานีหลักสี่ 7. สถานีการเคหะ 8. สถานีดอนเมือง 9. สถานีหลักหก 10. สถานีรังสิต
  • เดินทางได้ด้วยความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.
  • เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 3 สาย คือ MRT สายสีน้ำเงินสถานีบางซื่อ, สายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก), แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
  • ในอนาคตจะมีส่วนต่อขยาย สายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย)
  • คาดว่าจะเปิดให้ใช้บริการ มกราคม 2564

จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดินหน้าพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต และเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มีมติอนุมัติให้เร่งขยายระบบรถไฟสายสีแดงเพิ่ม 3 เส้นทาง มูลค่ารวม 23,417.61 ล้านบาท โดยทั้ง 3 โครงการนี้จะเป็นการปรับปรุงแนวเส้นทางรถไฟเดิมให้สามารถรองรับระบบรถไฟชานเมืองที่เป็นรถไฟฟ้าได้ พร้อมปรับปรุงสถานีในแนวเส้นทางให้ได้มาตรฐานเดียวกับสถานีรถไฟของโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

 


รายละเอียดตามรายงานการประชุม คกก. สศช.