โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง

โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต

  • ดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย
  • ระยะทางรวมทั้งหมด 26.3 กิโลเมตร
  • ก่อสร้างเป็นทางยกระดับจากสถานีกลางบางซื่อ ไปถึงสถานีดอนเมือง แล้วลดระดับลงมาเป็นระดับพื้นดินเมื่อพ้นจากสถานีดอนเมือง ไปจนถึงสถานีรังสิต
  • ประกอบไปด้วย 10 สถานีคือ 1. สถานีกลางบางซื่อ 2. สถานีจตุจักร 3. สถานีวัดเสมียนนารี 4. สถานีบางเขน 5. สถานีทุ่งสองห้อง 6. สถานีหลักสี่ 7. สถานีการเคหะ 8. สถานีดอนเมือง 9. สถานีหลักหก 10. สถานีรังสิต
  • เดินทางได้ด้วยความเร็วสูงสุด 120 กม./ชม.
  • เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า 3 สาย คือ MRT สายสีน้ำเงินสถานีบางซื่อ, สายสีแดงอ่อน (ศาลายา-หัวหมาก), แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ)
  • ในอนาคตจะมีส่วนต่อขยาย สายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-มหาชัย)
  • คาดว่าจะเปิดให้ใช้บริการ มกราคม 2564

จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดินหน้าพัฒนาระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-Map) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างช่วงบางซื่อ-รังสิต และเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้มีมติอนุมัติให้เร่งขยายระบบรถไฟสายสีแดงเพิ่ม 3 เส้นทาง มูลค่ารวม 23,417.61 ล้านบาท โดยทั้ง 3 โครงการนี้จะเป็นการปรับปรุงแนวเส้นทางรถไฟเดิมให้สามารถรองรับระบบรถไฟชานเมืองที่เป็นรถไฟฟ้าได้ พร้อมปรับปรุงสถานีในแนวเส้นทางให้ได้มาตรฐานเดียวกับสถานีรถไฟของโครงการรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

 


รายละเอียดตามรายงานการประชุม คกก. สศช.